#รู้ไว้ใช่ว่า
อิสราเอลยังคงเดินหน้าทำสงครามในกาซาต่อไป แม้จะมีแรงกดดันจากนานาชาติให้เกิดการหยุดยิงในทันที แต่อิสราเอลก็ไม่ได้ตอบสนอง ยังคงโจมตีฉนวนกาซาอย่างรุนแรงต่อไป แม้ว่าพวกเขาจะมีสหรัฐอเมริกาคอยช่วยระวังหลังให้ ในการยับยั้งฝ่ายอื่นๆ เช่นอิหร่านไม่ให้เข้ามาตลบหลังอิสราเอลได้
แต่เพียงเท่านี้ คงไม่ทำให้อิสราเอลเมินความเห็นของนานาชาติ และยังคงทำสงครามต่อไปได้ พวกเขามีเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เป็นสิ่งสำคัญในการทำให้อิสราเอลเป็นชาติที่ไม่ต้องพึ่งพาใคร และอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก
แรงกดดันจากการที่ต้องเอาตัวรอดท่ามกลางศัตรู ที่รายล้อมอยู่รอบด้าน ทำให้ต้องมีการพัฒนากองทัพ และอาวุธต่างๆเพื่อให้สามารถดำรงความเป็นชาติอยู่ได้ แน่นอนว่าสิ่งที่พวกเขาซึ่งมีเทคโนโลยี และนวัตกรรมแถวหน้าของโลกได้สร้างขึ้นมานั้นย่อมไม่ธรรมดา
ทำให้พวกเขามีอำนาจต่อรองเทียบเท่าประเทศมหาอำนาจ
ทำไมอิสราเอลไม่แคร์ใครๆ?
พวกเขามีอะไร?
intro 0:02
7. Spike Firefly 1:22
6. Trophy Active Protection System 2:21
5. Mossad 3:34
4. Attack Drone 5:06
3. Arrow Anti-Ballistic Missiles 6:10
2. F35i 7:22
1. Nuke 8:52
#รู้ไว้ใช่ว่า #israel #drone #technology #idf #nuke
ฤดูหนาวนิวเคลียร์ เป็นภาวะที่โลกถูกปกคลุมด้วยฝุ่น และเขม่าจากการระเบิดของนิวเคลียร์ ส่งละอองหลายร้อยล้านตันขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตาร์โตสเฟียร์ ที่ซึ่งไม่มีเมฆฝนที่จะชะล้างให้ตกลงมาได้ มันจึงลอยอยู่ได้นับสิบปี
เมื่อดวงอาทิตย์ถูกบดบัง อุณหภูมิโลกค่อยๆลดลง และเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้โลกเป็นเหมือนยุคไดโนเสาร์สูญพันธ์ พืชพันธ์ุที่ต้องอาศัยแสงอาทิตย์ไม่สามารถเติบโตได้ อากาศหนาวเหน็บ สิ่งแวดล้อมปนเปื้อน จนมนุษยชาติ อาจสุ่มเสี่ยงต่อการล่มสลาย
แน่นอนว่าหลังสงครามนิวเคลียร์จะมีผู้รอดชีวิต แต่คำถามก็ํคือ พวกเขาจะอยู่รอดได้อย่างไร ในฤดูหนาวที่ยาวนานนับสิบปี?
#รู้ไว้ใช่ว่า #nuclear #nuke #ความรู้ #nuclearwinter #nuclearwar #nuclearwarfare
7 ระเบิดนิวเคลียร์เปลี่ยนโลก ที่กล้องบันทึกไว้ได้ | รู้ไว้ใช่ว่า | การทดลองนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุด
คลิปนี้เรียบเรียงจากต้นฉบับ
https://www.youtube.com/watch?v=oWQ5KnP2W3k&t=500s
ภาพตื่นตาของการระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ของระเบิดนิวเคลียร์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม ที่หมายถึงใครเริ่มก็พินาศทั้งหมด
ข้อมูลอ้างอิง
อาวุธนิวเคลียร์
https://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_weapon
จำนวนอาวุธนิวเคลียร์
https://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_weapons_of_the_United_States
https://web.archive.org/web/20....160303230734/http://
ทรินิตี้ Test
https://ahf.nuclearmuseum.org/....ahf/history/trinity-
https://www.afnwc.af.mil/About....-Us/History/Trinity-
Pascal operation
https://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Plumbbob
Ivy mike test
https://www.radiochemistry.org..../history/nuke_tests/
Tsar Bomba
https://www.britannica.com/topic/Tsar-Bomba
https://en.wikipedia.org/wiki/Tsar_Bomba
โครงการนิวเคลียร์ของโซเวียต
https://en.wikipedia.org/wiki/....Soviet_atomic_bomb_p
Castle operation
https://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Castle
https://ahf.nuclearmuseum.org/....ahf/history/castle-b
https://en.wikipedia.org/wiki/Castle_Bravo
0:01 intro Trinity
1:30 Pascal-B
3:20 Bikini-A
4:24 Ivy Mike
5:52 RDS-37
7:22 Tsar-Bomba
9:05 Castle-Bravo
10:38 Castle-Yankee
11:14 epilogue
#รู้ไว้ใช่ว่า #นิวเคลียร์ #ประวัติศาสตร์ #เทคโนโลยี #วิทยาศาสตร์
ระบบป้องกันภัยที่ดีที่สุดในโลกถูกเอาชนะได้ด้วยปริมาณ ถึงเวลาที่จะต้องมีสิ่งใหม่มาช่วยอุดข่องโหว่ของการป้องกัน
Iron Dome ของ อิสราเอลมีประสิทธิภาพสูง แต่มีข้อเสียที่ราคาแพงเกินไป และมีช่องโหว่ที่ไม่สามารถรับมือกับจรวดจำนวนเกินขีดจำกัดของระบบได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมาช่วยอุดช่องโหว่นี้
ระบบเลเซอร์กำลังสูง Iron Beam ได้ถูกพัฒนามาหลายปี แต่ในสถาณการณ์ล่าสุดก็ยังไม่ได้เห็นการนำมาใช้ หากเทคโนโลยียังไม่พร้อม เชื่อว่าเหตุการณ์โจมตีครั้งล่าสุดจะช่วงเร่งให้มีการใช้งานเร็วขึ้นอย่างแน่นอน
*แก้ไขข้อมูลในคลิป ผิดพลาดตรงไหนแจ้งได้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่รับชม
ชื่อคลิปใน Intro ไม่ตรงกับเสียงพากย์ครับ ตอนแรกคิดค่าเงินจากงบประมาณที่ให้กับโครงการที่ 37 บาท ต่อ 1 เหรียญ งบก้อนแรก 1.6 พันล้านดอลลาร์ คิดได้ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท งบที่เติมให้โครงการภายหลังอีก 1 พันล้านดอลล่าร์ ประมาณ 3 หมื่น 7 พันล้านบาท รวมๆ แล้วโครงการมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาท
ไม่เกี่ยวกับราคาเครื่อง ที่ 1 สถานี (อังกฤษใช้ว่า Battery) มูลค่า 50 ล้านเหรียญ คูณ 37 ได้ประมาณ 1,850 ล้านบาท
จรวดทาเมียร์ ลูกละ 50,000 เหรียญ ถ้าจะยิงเป้าหมายให้ตกแน่ๆ ต้องยิง 2 ลูก เท่ากับ 100,000 เหรียญ หรือ 3 ล้าน 7 แสนบาท
- อิสราเอลมี Iron Dome ติดตั้ง 10 ชุด แต่ละชุดมีชุดยิง 4 ชุดยิง 1 ชุดยิง มีขีปนาวุธ 20 นัด ระบบทั้งหมดรวมกันยิงได้พร้อมกัน 800 ลูก
- ต้นทุน Iron Beam อยู่ที่นัดละ 3.50 เหรียญ ประมาณ 100 บาท กลมๆ (ตามข้อมูล)
#รู้ไว้ใช่ว่า #israel #irondome #israelpalestine #ประวัติศาสตร์
การแข่งขันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงสงครามเย็น โซเวียตยังคงตามหลังสหรัฐอเมริกาในช่วงเริ่มต้น ความเสียเปรียบด้านการเมืองมีผลโดยตรงกับการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ที่จะมาถ่วงดุลอำนาจของอเมริกา
RDS-602 หรือ 202 หลายชื่อ หลายรหัส ถูกสั่งให้สร้าง อาวุธที่มีพลังทำลายล้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์ขึ้นมา Tsar Bomba เป็นชื่อที่ชาติตะวันตกตั้งให้กับอาวุธชิ้นนี้ มันทรงอานุภาพ จนกลายเป็นอาวุธทำลายที่มีพลังมากที่สุดในโลกตลอดกาล
** คำโปรยหน้าปกหมายถึง การทำลายคงไม่หมดสิ้นทั้งประเทศ แต่ถ้าการระเบิดเกิดขึ้นบนเมืองหลวงของประเทศใดๆ ความเสียจะมากประมาณจนยากจะบูรณะให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าเป็นประเทศขนาดเล็กอาจเป็นไปได้ ด้วยรัศมีการทำลายของระเบิดมากกว่า 100 กิโลเมตร
intro 0:01
Soviet Nuclear Program 1:34
TU95-V 4:27
50 Megaton 6:27
Testing 7:26
Andrei Sakharov 10:37
Epilogue 13:07
#รู้ไว้ใช่ว่า #nuclear #ประวัติศาสตร์ #เทคโนโลยี #history
เหตุการณ์ภัยพิบัติเบรุต เป็นเหตุการณ์ระเบิดจากสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุทางการทหารที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก มันสร้างความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างมากมาย
เมื่อเดือนกันยายน 2013 เรือขนส่งสินค้า MV Rhosus ได้ขนแอมโมเนียมไนเตรต จำนวน 2,750 ตัน เทียบท่าที่ท่าเรือเบรุต ประเทศเลบานอน สินค้าได้ถูกยึดเนื่องจากเจ้าของเรือไม่ได้จ่ายค่าธรรมเนียมท่าเรือ และมันถูกนำไปเก็บไว้ที่โกดังหมายเลข 12 ซึ่งไม่ได้ถูกสร้างมาให้เก็บวัตถุอันตรายอย่าง แอมโมเนียมไนเตรต ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของระเบิดแรงสูง เป็นเวลาถึง 6 ปี
4 สิงหาคม ปี 2020 ได้เกิดเพลิงไหม้โกดังหมายเลข 12 ที่ท่าเรือเบรุต ประกายไฟจากการเชื่อมทำให้เกิดเพลิงไหม้วัตถุไวไฟอย่างดอกไม้ไฟ และพลุ เกิดการระเบิดเล็กๆ และไฟไหม้ที่รุนแรงมาก แต่นั่นยังไม่ใช่ที่สุด เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ถูกส่งเข้าไปควบคุมสถานการณ์ โดยไม่รู้ว่ามีอะไรรอพวกเขาอยู่
ทันใดนั้นเกิดระเบิดอย่างรุนแรงจากกองแอมโมเนียมไนเตรตทั้ง 2,750 ตัน เกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ และแรงระเบิดได้ทำลายโกดังและพื้นที่โดยรอบอย่างราบคาบ คลื่นชอกเวฟถูฏส่งออกไปทำลายเมืองเบรุตถึงครึ่งเมือง ความรุนแรงนับเป็น 1 ใน สิบของนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิม่า และเป็นระเบิดจากวัตถุที่ไม่ใช่ทางการทหารที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
#รู้ไว้ใช่ว่า #ประวัติศาสตร์ #เหตุการณ์โลก #เบรุต
เหตุการณ์เขย่าขวัญที่เกิดขึ้นใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ยิ่งผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนอายุ 14 ปี ยิ่งสะท้อนความตกต่ำของสังคมที่เจริญเพียงแค่วัตถุ
หากเราได้เผชิญเหตุการณ์ต่อหน้า คงยากที่จะบอกได้ว่าเราจะโชคดีหรือโชคร้าย แต่หากเราตั้งสติ และตัดสินใจได้ฉับไว ก็อาจเพิ่มโอกาสรอดชีวิตจากสถานการณ์ขับคันไปได้
นี่เป็น 10 เหตุการณ์ของการกราดยิงที่มีความสูญเสียมากที่สุด ของการกราดยิงผู้ไม่มีทางสู้ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลให้เราได้ใช้สักวันหนึ่ง แต่ขออย่าให้มีวันนั้นเลย
#รู้ไว้ใช่ว่า #ประวัติศาสตร์ #massshootings #กราดยิง #siamparagon #สยามพารากอน
The Line เมืองแห่งความฝัน หรือเพียงภาพลวงตา | รู้ไว้ใช่ว่า | เมืองแห่งอนาคต หรือความล้มเหลวที่แสนแพง
The Line เมืองแห่งอนาคตที่ซาอุดิอาระเบียได้ประกาศแผนการสร้างออกมาในปี 2021 สร้างความตื่นเต้นไปทั่วโลก เนื่องจากมันเป็ฯเมืองที่เหมือนกับในภาพยนตร์ไซไฟ และมีแนวคิดที่ไม่เหมือนเมืองแห่งใดในโลกนี้ และมันกำลังถูกสรั้างขึ้นมาแล้วจริงๆ
The Line เป็นโครงการหนึ่งของ NEOM ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลของซาอุดิอาระเบียตั้งใจให้เป็นส่วนที่แยกออกจากเศรษฐกิจน้ำมันของประเทศ มีคำถามมากมายรวมถึงความสงสัยว่า โครงการจะสามารถทำให้สำเร็จได้หรือไม่ ด้วยตัวอาคารที่ยาว 170 กิโลเมตร สูง 500 เมตร กว้าง 200 เมตร ไม่มีถนน และรถยนต์ ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 %
เมื่อโครงการเริ่มก่อสร้างและมีความคืบหน้าออกมาเรื่อยๆ ทำให้มีความมั่นใจต่อนักลงทุนที่อาจถูกดึงเข้ามาเพื่อร่วมลงทุนในโครงการ NEOM เพื่อผลักดันโครงการให้เดินหน้าไปได้
แต่หากไม่มีนักลงทุนเข้ามาเพิ่มเติม โครงการอาจพบกับความล้มเหลว และเป็นความล้มเหลวที่แพงมาก ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นที่ 5 แสนล้านดอลล่าร์
สุดท้ายแล้วโครงการจะเป็นไปในทิศทางใด ร่วมกันแชร์ความคิดเห็นไว้ที่คอมเมนท์ด้านล่างได้ครับ
#รู้ไว้ใช่ว่า #วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ยังคิดที่จะพลิกความได้เปรียบกลับมามีชัยเหนือกองทัพสัมพันธมิตร ด้วยวิทยาศาสตร์ลับจากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำที่้เก่งกาจที่สุดของเยอรมนี วิทยาการที่ก้าวล้ำยุคสมัย ที่เป็นพื้นฐานของหลายสิ่งในทุกวันนี้
***แก้ไขข้อมูลในคลิปนะครับ
5:52 แก้ไขปีที่พิชิตดวงจันทร์เป็นปี 1969 นะครับ ในคลิปพูดผิดเป็นปั 1976
**ในคลิปนี้ต้องขออภัยหากคำศัพท์ หรือชื่อบุคคลที่ออกเสียงได้ไม่ถูกต้องนะครับ
#รู้ไว้ใช่ว่า #สงครามโลก #วิทยาศาสตร์ #war
อุบัติเหตุของเรือเซวอล ในวันที่ 16 เมษายน 2014 นับว่าเป็นความสูญเสียที่สะเทือนใจคนทั้งโลก เมื่อมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน มิหนำซ้ำอุบัติเหตุครั้งนี้น่าที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และผลจากความโลภที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่จะเป็นบาดแผลในใจชาวเกาหลี และชาวโลกไปตลอดกาล
0:01 intro
1:38 โศฏนาฏกรรมเรือเซวอล
2:47 การดัดแปลงเรือ
5:44 การออกเรือครั้งสุดท้าย
13:44 ความพยายามในการกู้ภัย
16:15 ความสูญเสีย
17:14 การดำเนินคดี
19:25 ความโลภและความประมาท
21:08 ภัยพิบัติแห่งชาติ
24:06 ปฏิบัติการกู้เรือ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลตรวจสอบเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับหินอ่อนเรือน้ำหนัก 37 ตัน หลังตรวจสอบข้อเท็จจริง หินอ่อน ปูพื้นหนักประมาณ 2 ตัน ตามรายงานในลิงค์
https://klef.co.kr/293
บันทึกอุบัติเหตุ ในเว็บไซต์ของเกาหลี
https://namu.wiki/w/%EC%B2%AD%....ED%95%B4%EC%A7%84%ED
#รู้ไว้ใช่ว่า #ประวัติศาสตร์ #sewol
มูลเหตุก่อนเกิดเหตุการณ์ 9/11 มีที่มาอย่างไร ใครเป็นผู้บงการสำคัญในเรื่องนี้
เหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 แต่ก่อนที่จะมาถึงวันประวัติศาสตร์นี้ มีเรื่องราวที่จะนำมาถึงเหตุวินาศกรรม ย้อนกลับไปยาวนาน ตั้งแต่การเข้าไปลงหลักปักฐานความสัมพันธ์ของอเมริกาในตะวันออกกลาง เมื่อกว่าหนึ่งร้อยปีที่แล้ว
content
0:02 Intro
2:18 ทองคำสีดำ
3:53 อัฟกานิสถาน
6:31 สงครามโซเวียต - อัฟกานิสถาน
9:24 Osama Bin Laden
11:44 องค์กรก่อการร้าย
13:00 อัลกออิดะห์
16:42 การเติบโต
20:47 แผนเครื่องบินโจมตี
23:41 คำเตือนที่ไม่ทันกาล
#รู้ไว้ใช่ว่า #911 #history #knowledge #usa
เหตุการณ์โลก EP.03 การถล่มของห้างซํมพุง กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติใน่ยามสงบที่ร้ายแรงที่สุดของเกาหลีใต้ โดยห้างสรรพสินค้าซัมพุงซึ่งได้เปิดบริการมา 5 ปี ได้ถล่มลงในเวลา 17.52 น. ของวันที่ 29 มิถุนายน 1995 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 502 ราย และบาดเจ็บ 937 คน
จากการสอบสวนพบว่าสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการออกแบบอาคารจากเดิมที่เป็นอาคารที่พักอาศัยมาเป็นอาคารห้างสรรพสินค้า โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีการลดสเปคของการก่อสร้างที่ผิดแบบจนตัวอาคารไม่มีความมั่นคงเหลืออยู่ อีกทั้งยังมีการเพิ่มชั้นที่ 5 ที่ไม่มีในแบบตั้งแต่ต้นเข้าไป รวมถึงมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ไว้บนดาดฟ้าจนเกินภาระที่โครงสร้างของอาคารจะรับไว้ได้ อาคารจะถล่มลงมาไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลย คำถามคือ เมื่อไร
และด้วยเหตุการณ์บางอย่างกับการสะสมความเสียหายทีละเล็กละน้อย จนในวันที่ 29 มิถุนายน 1995 อาคารก็พังถล่มลงมาในที่สุด
เหตุการณ์นี้นำไปสู่การจำคุก ประธานกลุ่มซัมพุง 10 ปีครึ่ง ซึ่งในขณะนั้นมีอายุถึง 81 ปีแล้ว รวมถึงซีอีโอของห้าง ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่รับสินบนเพื่อให้อาคารแห่งนี้ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคาร และการตรวจสอบอาคารหลายร้อยหลังที่สร้างในยุคเฟื่องฟูของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ พบว่ามีอาคารเพียง 2 เปอร์เซนต์เท่านั้น ที่ปลอดภัยอย่างสมบูรณ์
#รู้ไว้ใช่ว่า #เหตุการณ์โลก #ประวัติศาสตร์ #history
10 น้ำท่วมที่เสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ | รู้ไว้ใช่ว่า | น้ำท่วมไทยติด Top อันดับโลก
อุทกภัย หรือ น้ำท่วม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อย และรุนแรงที่สุด ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินอย่างมหาศาล ยิ่งในปัจจุบันความรุนแรงและความเสียหายได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากสภาวะโลกร้อนที่รุนแรง พื้นที่หลายแห่งประสบกับภัยพิบัติ โดยเฉพาะน้ำท่วมที่เกิดทั้งแบบฉับพลัน และยาวนาน
เป็นที่น่าสังเกตว่าน้ำท่วมในปัจจุบัน จะมีความเสียหายทางเศรษฐกิจที่สูง จากการที่โครงสริ้างพื้นฐานถูกทำลาย ยิ่งเหตุเกิดในเมืองใหญ่ยิ่งสร้างความเสียหายได้มาก ทุกชุมชนจึงควรซักซ้อมแผนในการตอบสนองเหตุน้ำท่วมฉับพลัน การป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการช่วยกันลดภาวะโลกร้อนที่เป็นต้นตอของน้ำท่วม
Content
0:01 Intro
1:19 อันดับที่ 10 น้ำท่วมหลุยส์เซียน่า สหรัฐอเมริกา ความเสียหาย 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
2:53 อันดับที่ 9 อุทกภัย เอมิเลีย- โรมานญ่า อิตาลี 2023 ความเสียหาย 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
4:27 อันดับที่ 8 น้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำมิสซิสซิปปี้- มิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา ความเสียหาย 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
6:05 อันดับที่ 7 น้ำท่วมมลฑลเหอหนาน ประเทศจีน ความเสียหาย 18,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
7:37 อันดับที่ 6 น้ำท่วมยุโรป 2002 ความเสียหาย 27,100 ล้านเหรียญสหรัฐ
9:00 อันดับที่ 5 น้ำท่วมประเทศจีนตอนใต้ 2020 ความเสียหาย 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
10:43 อันดับที่ 4 น้ำท่วมปากีสถาน 2022 ความเสียหาย 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
12:41 อันดับที่ 3 น้ำท่วมใหญ่ ประเทศไทย 2011 (พ.ศ. 2554) ความเสียหาย 45,700 ล้านเหรียญสหรัฐ
15:43 อันดับที่ 2 น้ำท่วมยุโรป 2021 ความเสียหาย 64,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
17:34 อันดับที่ 1 น้ำท่วมใหญ่เอเชียใต้ ความเสียหาย 105,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
#รู้ไว้ใช่ว่า #น้ำท่วม #flood #knowledge #น้ำท่วมฉับพลัน